กาแฟบำรุงสมองได้ มารู้จักประโยชน์ของกาแฟกับการทำงานของสมองกัน
08 พ.ค. 67

กาแฟบำรุงสมองได้ มารู้จักประโยชน์ของกาแฟกับการทำงานของสมองกัน

 

เชื่อว่าเกือบทุกคนต้องเริ่มต้นยามเช้าด้วย “กาแฟบำรุงสมอง” สักแก้วเพื่อกระตุ้นความสดชื่นให้หัวแล่นอย่างแน่นอน หรือแม้แต่จิบตอนบ่ายเพื่อต่อสู้กับความง่วงระหว่างวัน อาจจะซัดตอนกลางคืนเพื่อทำงานที่ค้างคาบ้างในบางครั้ง

 

ด้วยประโยชน์ของกาแฟที่มีสารคาเฟอีนจะช่วยให้เรารู้สึกตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า ต้องยอมรับเลยว่าเมื่อถึงวัยทำงาน กาแฟได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในทางกลับกันหลายๆคนก็อาจมองว่าควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน เพราะคิดว่าจะส่งผลไม่ดีต่อร่างกาย หรือกังวลว่าจะก่อให้เกิดโรคอันตรายในอนาคต

 

แล้วความจริงเป็นอย่างไร? สรุปว่ากาแฟเป็นฮีโร่หรือตัวร้ายกันแน่? ประโยชน์ของกาแฟที่ได้ยินกันมาใช่ข้อมูลที่ถูกต้องหรือเปล่า? มาไขข้อสงสัยไปพร้อมๆกันในบทความนี้เลย

 

 

กาแฟบำรุงสมอง ได้อย่างไร?

 

มาทำความรู้จักการทำงานของคาเฟอีนต่อสมองกันก่อน ว่าทำไมกาแฟบำรุงสมองได้ อย่างที่รู้กันว่าสาเหตุที่กาแฟนั้นช่วยให้เราตื่นตัวก็เพราะว่าในกาแฟมีสารคาเฟอีน ซึ่งมีคุณสมบัติออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วงกลางของสมองโดยตรง เช่น ต้านสารแอดิโนซิน (Adenosine) หรือสารที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนในสมองนั่นเอง เป็นเหตุให้คนที่ดื่มกาแฟ หรือรับคาเฟอีนเข้าสู่ร่างกายจึงไม่รู้สึกง่วง และรู้สึกกระฉับกระเฉง ถึงแม้จะไม่ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ก็ตาม

 

พูดง่ายๆก็คือ คาเฟอีนในกาแฟ สรรพคุณนั้นช่วยหลอกสมองของเราให้เชื่อว่าตัวเองไม่เหนื่อย

 

อีกทัั้งคาเฟอีนยังกระตุ้นสารแห่งความสุข หรือ โดปามีน (Dopamine) ให้ทำงานได้ดีมากขึ้น พวกเราจึงมักรู้สึกสดชื่นอารมณ์ดี กระชุ่มกระชวย และผ่อนคลายเมื่อดื่มกาแฟเข้าไปนั่นเอง โดยฤทธิ์ของคาเฟอีนจะอยู่ในร่างกายโดยเฉลี่ยประมาณ 6 ชั่วโมง

 

นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานสนับสนุนประโยชน์ของกาแฟอีกว่า คาเฟอีน ซึ่งมีผลต่อ สารแอดิโนซินและโดปามีน ส่งผลดีระยะยาวในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ และโรคมะเร็งบางชนิด รวมถึงเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกาย เพิ่มพลังในการออกกำลังกายได้มากขึ้นอีกด้วย

 

 

ดื่มกาแฟ อย่างไรให้ได้ประโยชน์เต็มพิกัด

 

คนดื่มกาแฟ

 

จะเห็นได้ว่า ข้อดีของกาแฟมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายมิติเป็นอย่างมาก และวันนี้พันธุ์ไทยมีเทคนิคดีๆ เกี่ยวกับวิธีดื่มกาแฟให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปทำตามได้จริงมาบอกต่อกัน

 

ดื่มกาแฟช่วงเช้า หรือช่วงบ่าย

 

อย่างที่กล่าวไปในช่วงที่ผ่านมา คาเฟอีนจะออกฤทธิ์ให้ร่างกายตื่นตัวราว 6 ชั่วโมง ดังนั้นเพื่อใช้ประโยชน์ของมันอย่างเต็มที่ ให้ฤทธิ์ของกาแฟบำรุงสมองโดยไม่เกิดผลกระทบอย่างเช่น อาการนอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิทในภายหลัง เราจึงควรดื่มกาแฟในช่วงเช้าและช่วงบ่าย จะเป็นเวลาที่ดีที่สุด พอหลังจากบ่าย 2-3 พยายามลดหรือเลี่ยง จะได้ไม่มีปัญหานอนไม่หลับตอนกลางคืนนั่นเอง

 

ดื่มกาแฟบำรุงสมองควบคู่เมนูอาหารอื่นๆ

 

กาแฟกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรดออกมา นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราไม่ควรดื่มกาแฟตอนท้องว่างเท่าไหร่นัก ซึ่งวิธีแก้ปัญหานี้ก็ง่ายมากๆ คือ ทานอาหารควบคู่ระหว่างดื่มกาแฟไปด้วยเพื่อดึงเอาผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในทุกด้านออกมา สำหรับใครที่คิดไม่ออกว่าจะทานเมนูอะไรคู่กับกาแฟดี สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมในบทความ แจกไอเดียเมนูอาหารเช้า จับคู่กับกาแฟแก้วโปรด เพื่อเป็นไอเดียกันดูได้นะ

 

ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น

 

คนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำต้องเข้าใจประสบการณ์ปวดฉี่บ่อยเป็นอย่างดีแน่นอน เนื่องจากคาเฟอีนในกาแฟ สรรพคุณมีส่วนกระตุ้นให้ร่างกายขับน้ำ เป็นผลให้เราต้องเข้าห้องน้ำไปปลดปล่อยบ่อยกว่าปกติ สิ่งที่ตามมาก็คือร่างกายของเราจะเสียน้ำไปมากขึ้นด้วย ดังนั้นหลังจากดื่มกาแฟแล้ว อย่าลืมดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ เพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป เท่านี้ก็ไม่มีปัญหาแล้ว

 

กาแฟบำรุงสมอง ดื่มแล้วดี แต่มีข้อควรระวัง

 

แน่นอนว่าไม่ได้มีเพียงประโยชน์ของกาแฟที่มอบผลดีให้ร่างกายทั้งหมดเพียงอย่างเดียว แม้คาเฟอีนจะช่วยให้รู้สึกดี และมีประโยชน์หลากหลายมากแค่ไหน แต่หากดื่มมากจนเกินความพอดีมันก็สามารถทำให้สมองหลั่งฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ ความดัน และระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้น

 

ในส่วนนี้ร่างกายของแต่ละคนจะมีความสามารถในการต้านทานฤทธิ์ของคาเฟอีนแตกต่างกัน ดังนั้นต้องสังเกตตัวเองว่าปริมาณแค่ไหนถึงจะไม่มากไม่น้อยเกินไปสำหรับตัวเรา เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบตามมาจากการรับคาเฟอีนในปริมาณที่มากเกินไปนั่นเอง

 

ระวังดื้อคาเฟอีน

 

สมองของเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับเป็นประจำได้ เมื่อรับคาเฟอีนต่อเนื่องเป็นเวลานาน สมองจะชินโดยอัตโนมัติจนมีความรู้สึกว่าต้องรับคาเฟอีนมากเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ เพราะปริมาณเท่าเดิมเริ่มมอบความรู้สึกดีๆ หรือใช้ประโยชน์ของกาแฟไม่เต็มที่อีกต่อไป และนี่ก็ยังเป็นเหตุผลที่เมื่อหยุดทานกาแฟกระทันหันอาจมีอาการปวดหัว กระวนกระวาย ไม่สบายตัวด้วยเช่นกัน ซึ่งในส่วนนี้เราสามารถลดปริมาณกาแฟลงบ้างในบางช่วง เพื่อหลอกร่างกายให้กลับมาสู่สภาพปกติ

 

ระวังการดื่มกาแฟที่มากเกินไป

 

เราไม่ควรรับคาเฟอีนมากเกิน 400 mg ต่อวัน หรือเทียบกับเอสเพรซโซ่ 30 ml 6 แก้ว เพราะถึงกาแฟบำรุงสมองได้ แต่การดื่มในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะทำให้เราเกิดอาการปวดฉี่บ่อย ท้องเสีย หรือมีคุณภาพการนอนที่ต่ำลงได้เช่นกัน

 

ระวังน้ำหนักขึ้น!

 

ต้องบอกก่อนว่า กาแฟดำ ไม่ทำให้น้ำหนักขึ้นแน่นอน ความเป็นจริง คือ ประโยชน์ของกาแฟดำ ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน และเพิ่มพลังในการออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ว่า..หลายๆคนก็มักจะชอบดื่มกาแฟที่เพิ่มน้ำตาลเข้าไปเพื่อรสชาติที่ดีขึ้น ซึ่งน้ำตาลที่แฝงเข้ามานี่แหละที่อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มโดยไม่รู้ตัว ทางที่ดีที่สุดคือ พยายามเลือกดื่มกาแฟดำไม่ใส่น้ำตาล หรือถ้าอดใจไม่ไหวจริงๆ แนะนำให้สั่งหวานน้อยเพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลอย่างเหมาะสมแทน

 

ระวังฟันเหลือง

 

การทานอาหารที่มีสี ไม่ว่าจะเป็น ชา กาแฟ หรือแกงต่างๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มโอกาสให้มีปัญหาฟันเหลือง จากอีกหลายๆ ปัจจัย แต่ถ้าหากหลังดื่มกาแฟเราแปรงฟันทันที หรือบ้วนปากหลังดื่มตามเข้าไป จะช่วยลดปัญหานี้ไปได้มาก อีกเทคนิคหนึ่ง ถ้าดื่มกาแฟแบบเย็นการใช้หลอดจะช่วยลบคราบบนฟันหน้าได้ด้วยนะ

 

กาแฟกับอาหาร

 

ข้อดีของกาแฟนั้นมีงานวิจัย รวมถึงหลักฐานสนับสนุนว่ามีผลดีต่อร่างกาย และกาแฟบำรุงสมอง โดยทำงานออกฤทธิ์กับระบบประสาทส่วนกลางในเชิงบวกหลายด้านทีเดียว อย่างไรก็ตาม แนะนำให้สังเกตร่างกายตัวเองในการดื่มกาแฟอย่างพอดีเพื่อผลประโยชน์สูงสุดกันนะ

 

มาดื่มด่ำรับประโยชน์จากกาแฟดีๆ ที่ทั้งอร่อย เข้มข้น และได้ประโยชน์ ได้ที่ เมนูกาแฟพันธุ์ไทย สั่งซื้อได้ที่ร้านพันธุ์ไทยใกล้บ้าน หรือจิ้มสั่งผ่านแอปเดลิเวอรีส่งถึงที่ได้ง่ายๆเลย

 

อ้างอิง:

- https://www.healthline.com/health-news/hypertension-3-cups-of-coffee-a-day-may-lower-blood-pressure?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR2ifrUAtaM9F2n-NVUuUaxWD36shGYGIYFJ6tWBqRVSTIPv942m49pp89s_aem_AbB1fqmbTwKrS0DzOy1kekHmtzk64peGsLzzGp0f9lgN66omceW-d7GLytXaZ_QIOXl5-xTdmDgFvZDTCf3rZNpT#Should-people-with-high-blood-pressure-drink-coffee

- https://www.news-medical.net/news/20230207/People-who-regularly-drink-coffee-have-significantly-lower-blood-pressure.aspx?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR3GaxNrkjNIOlJR4USRwNEpKHGvTsAS1Jh9wjrHJ0rZn7pIQUXw5EqQzE0_aem_AbDMfyiRjc6nAtg3RizmzALQNk5CAvjxKJcZ-NJB7lm9pNkxv6FGPaUDuAQgAx07iZoYr74B3pMt5EjB-_ZHpSYG

- https://edition.cnn.com/2021/11/16/health/coffee-and-tea-benefits-stroke-dementia-wellness/index.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1OXNUoNZp0tfaEzULFJ1x80YAjVc-L9Oa1xzHcXy3JXnItNj6SDAjdmKk_aem_AbAbIEJACv3x5cR3t7AoczN0UUYGUbUbYV32DlfMObkXU8K5qOtxB75TmnSaGFVLv0ycsz-Cbc3oRWsQH1LDrpTH

- https://www.youtube.com/watch?v=foLf5Bi9qXs&ab_channel=TED-Ed

- https://www.fda.gov/consumers/consumer-updates/spilling-beans-how-much-caffeine-too-much?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR3eTWpz_DJLY_I26jTDl4cBwQw1DGhEOAuFLS_AQVkOisAbUkhaDimILMY_aem_AbDLj0Y2G7Dk1aJwTdOKZxBQ0ggx6OpHTbWCwjNeukwKq3_e-Dd4pHygUxcMBhi3bqPrbubsqJoVVIUaeKUW84JI